อริยมรรคคือการดำเนินชีวิต

16 มิ.ย. 58 / 1247 อ่าน

วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558 การเจริญมรรคคือหนทางในการใช้ชีวิตที่เป็นสัมมาทั้ง ๘ ดังนั้นหากเราแสวงหาทางพ้นทุกข์ ก็ศึกษาการใช้ชีวิตที่ถูกต้องด้วยการเดินตามทางแห่งอริยมรรคนี้ล่ะแลัวจะมีที่หมายปลายทางคือการพ้นทุกข์ สัมมาทิฏฐิเรามีไหม รู้ไหมว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุ หนอนอยู่ในถังส้วมมันก็ว่าชีวิตมันดีมีสุข ใครมาชวนมันไปพ้นทุกข์ มันไม่เข้าใจหรอก ส่วนเราก็อย่าจมลงไปกับชีวิตจนเป็นเหมือนหนอนนะ ให้เห็นทุกข์ทั้ง 11 อาการบ้าง ให้เห็นทุกข์ เห็นว่าเหตุมาจากไหนที่ทำให้ทุกข์?1. ภพ – คือคิดเรื่องนั้นๆ จนมีตัวเราเข้าไปในเนื้อเรื่องต่างๆ เกิดเป็นอารมณ์ วิญญานก็เลยตั้งอาศัยได้?2. ตัณหา – ความอยากบีบคั้นในเรื่องต่างๆ นั่นเป็นเหตุ ดูที่กายที่ใจเรา อย่าเอาแต่ศึกษา ฟังเพียงอย่างเดียว?3. อัตตา – ตัวตน นั่นล่ะสาเหตุหลักที่อยู่เบื้องหลังทุกอย่าง สัมมาทิฏฐิต้องเห็นทุกข์ซึ่งเป็นผล มีสมุทัยเป็นเหตุ การออกจากทุกข์ต้องดับเหตุ ด้วยการเจริญมรรคหรือพูดให้ง่ายคือดำเนินชีวิตตามเส้นทางแห่งมรรคแล้วผลจะเป็นความสุขสงบเย็นคือนิโรธ เมื่อเข้าใจในมรรคองค์ที่๑ แล้ว มรรคองค์ต่อๆ มาก็พากันมาโดยอัตโนมัติ เมื่อรู้ว่าอะไรคือเหตุให้เกิดทุกข์ก็เริ่มจะจัดการไปเรื่อยๆ การยึดติดในกาม เป็นเหตุแห่งทุกข์ การมุ่งร้ายผู้อื่น การเบียดเบียนผู้อื่นเป็นเหตุแห่งทุกข์ จึงควรละเสีย ไม่ทำสิ่งเหล่านั้น เมื่อเหตุแห่งทุกข์ลดลง ทำไมทุกข์จะไม่ลดลงล่ะ วันนี้เอาแต่จะเข้าคอร์ส เอาแต่เดินจงกรม นั่งสมาธิแต่การใช้ชีวิตมันยังเต็มไปด้วยความหลงผิดว่าเราว่าของเรา อย่างนี้จะพ้นทุกข์ไปได้อย่างไร คำถามที่ต้องตอบกันทุกคอร์สคือ พอเราไม่มุ่งร้ายเบียดเบียนผู้อื่นแต่คนอื่นเขามุ่งร้ายเบียดเบียนเราแล้วจะให้ทำอย่างไร จะให้งอมืองอเท้านั่งอุเบกขาให้เขาทำฝ่ายเดียวหรือ? การชี้แจงกลับไปเพื่อให้เขาเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ใช่การมุ่งร้ายเบียดเบียนนี่ วันนี้เราไปมองว่านั่นเป็นการตอบโต้ นั่นมันมาจากความรู้สึกเป็นตัวตน ส่วนผู้หญิงที่จะถูกสามีทำผิดศีลแล้วทำให้เราเป็นทุกข์ นั่นก็มาจากความยึดถือ ตรงนี้เริ่มยากขึ้นอีกชั้นแต่ขอพูดอย่างหนึ่งคือ คนที่เขาทำผิดศีลจะนำมาซึ่ความทุกข์ใจ เดือดร้อนใจ ส่วนใครไม่ได้ทำผิด ได้โปรดอย่าไปทุกข์กับมัน จะจัดการอะไรขอให้จัดการอย่างที่เห็นว่าควรทำแต่รักษาใจให้กระทบกระเทือนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อถึงวันที่เกิดปัญญาวางลงได้ก็จะเห็นความจริงได้เอง จากนั้นการกระทำทางวาจา ทางกายก็จะเป็นสัมมาคืออยู่บนความถูกต้อง การฝึกฝนทางจิตก็จะถูกต้อง คือการลดละความเถื่อนของจิตจากสัญชาตญาณ ด้วยการละอกุศล มาเจริญกุศลแทน เมื่อชำระอกุศลในใจได้มากแล้ว ใจจะเริ่มสงบโดยธรรมชาติ นิวรณ์รบกวนน้อย จิตใจก็ตั้งมั่นขึ้น จากนั้นวกกลับเข้ามาใช้สติระลึกลงไปบนฐานกาย เวทนา จิต ธรรมารมณ์ เห็นความจริงว่าเป็นเพียงของเกิดดับ ไม่ใช่ตัวตนอะไร ที่สำคัญคือไม่ใช่ตัวเราและไม่ใช่ของเรา เช่นมีคนชมเราก็ดีใจ ถ้าเริ่มเป็นนักปฏิบัติ คือต้องมีผู้สังเกตไปสังเกตเห็นอารมณ์ความพอใจเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ในที่สุดก็สลายไป อย่างนี้ทำให้บ่อยให้มากในทุกๆ การกระทบ จงทำไปอย่างมีความสุข บันเทิงในธรรม อย่าไปเคร่งเครียดจนกลายเป็นปฏิบัติธรรมแล้วยิ่งทุกข์ แล้วเมื่อเห็นมากขึ้นจนค่อยๆ สลายความเห็นผิดในความเป็นตัวตนลงได้ ตัณหาก็จะลดลง (ตัณหาจากที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ เมื่อถึงจุดนี้ตัณหากลายเป็นผลจากความไม่รู้ไปสร้างความเห็นผิดขึ้นมาคืออวิชชานั่นเอง) เมื่อเหตุดับผลก็ดับ เมื่อเหตุแห่งทุกข์น้อยลงๆ ผลอันเป็นทุกข์จะไม่ลดได้อย่างไร จงมีตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เดินตามเส้นทางแห่งมรรค ทำกุศลให้มาก ให้น้ำเย็นและผลไม้แก่ตำรวจจราจร แก่คนกวาดถนน แก่ยามหน้าหมู่บ้าน แก่คนที่ลำบาก ทำจนเป็นนิสัย แล้วจะภาวนาง่ายขึ้นเอง ดำเนินชีวิตตามเส้นทางแห่งมรรคแล้วตนจะเป็นที่พึ่งแห่งตนได้เอง อ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม?สวนยินดีทะเล?สิชล นครศรีธรรมราช ?www.suanyindee.net