พระอาจารย์องค์นั้นไม่ดี

25 ก.ย. 55 / 1515 อ่าน

เหรอ...ทำไมท่านไม่ดีล่ะ ฉันว่าท่าน......ไม่น่าทำอย่างนั้นเลย ผมว่าจะบอกว่าองค์ไหนเป็นอย่างไร ให้เอาธรรมวินัยมาวัดดีกว่า อย่าเอาความรู้สึกของเราเป็นตัววัดเลยว่าองค์ไหนดีหรือไม่ดี เพราะแม้ธรรมวินัยเองยังยากที่จะบอกได้ว่าท่านดีหรือไม่ดี หากเอาธรรมวินัยข้อที่เล็กๆน้อยๆ มันเสี่ยง ผิดพลาดไปก็จะสร้างเวรเปล่าๆ เพราะเท่าที่ฟังมันเกิดขึ้นมาจากมาจากความคิดเห็นของ"กู"ทั้งนั้นเลยซึ่งอย่างนั้นเราสร้างมโนกรรมไปแล้ว องค์นั้นดีถูกจริต เอาให้แน่นะว่าจริตที่พูดนั้นไม่ใช่กิเลสย้อมใจให้พูดล่ะ จริตที่ว่ามักจะมาจากปฏิบัติสบายๆหรือสนุกดีอย่างที่คนทั่วๆไปชอบ ระวังดีๆนะ ที่ว่าชอบนั่นมันเป็นแบบที่พาไปสู่หนทาพ้นทุกข์รึเปล่าหรือให้ย้อมจิตยึดติดในเรื่องนั้นเพิ่มขึ้นไปอีก ไปสวนสนุกก็ชอบ ไปทำจิตอาสาก็ชอบ ไปแค้มป์ปิ้งก็ชอบ เอาชอบเป็นเครื่องวัดหรือ? เพราะการบำเพ็ญภาวนานั่นฝืนกิเลส เผากิเลส มันอาจไม่ใช่อย่างที่ใครๆชอบ แต่เพราะเห็นโทษภัยจึงเกิดความพอใจที่จะมุ่งมั่นกระทำใหัถึงที่สุด คำว่าจริตหมายความอย่างที่เราเข้าใจรึเปล่า จะยกตัวอย่างสักตัวอย่างหนึ่ง สมัยพุทธกาล ภิกษุหนุ่มลูกศิษย์พระสารีบุตร เพิ่งบวชใหม่ พระสารีบุตรจึงแนะนำให้เจริญอสุภกรรมฐานเป็นฐานแห่งการปฏิบัติ แต่ผ่านไป 4 เดือนกลับไม่มีอะไรดีขึ้น เข้าไม่ถึงแม้ปฐมฌาณ พระสารีบุตรจึงพาไปกราบพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงแนะนำให้ภิกษุหนุ่มนั้นไปนั่งเพ่งดอกบัวด้วยกสิณสีแดง โดยให้ท่อง "โลหิตัง..โลหิตัง.." จากนั้นไม่นาน ก็เริ่มเข้าสู่ปฐมฌาณจนถึงฌาณที่๔ ช่วงนั้นเองดอกบัวที่เพ่งเหี่ยวลง จิตใจของภิกษุหนุ่มก็เริ่มเหี่ยวลงตามดอกบัว ภิกษุนั้นเกิดปัญญาเห็นว่าเพราะเราเริ่มยึดติดผูกพันกับดอกบัว (เกิดอุปาทาน) ใจจึงเหี่ยวทุกข์เศร้าหมองไปด้วย เพราะขณะนั้นอำนาจของความตั้งมั่นในฌาณจึงเกิดเป็นปัญญาถอดถอน เมื่อถอนอุปาทานในขันธ์ได้เพราะเกิดความเห็นถูก จึงบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ มาดูประเด็นเรื่องนี้กัน ที่เราชอบพูดว่าองค์นั้นองค์นี้ไม่ดี ตกลงเรื่องเป็นอย่างไร 1.พระสารีบุตร ไม่ดีหรือที่สอนศิษย์ไม่ตรงจริต? นี่ท่านเมตตามากนะยังว่าไม่ดีอีกหรือ? ย้อนกลับมาดูดีๆ ใครจะบรรลุนั้นต้องทำเอาเองแม้นพระพุทธเจ้ายังบอกว่า "ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทาง.." ไม่มีใครรับผิดชอบใครได้จริงๆหรอก มันเป็นเรื่องที่ซับซ้อนภายใต้วิบากกรรมอีก 2.พระพุทธเจ้า ท่านให้กรรมฐานตรงกับจริต เพราะท่านบอกว่า ภิกษุนี้เป็นพุทธเวไนยยะ ซึ่งต้องรู้ธรรมจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น สาวกชี้ให้ไม่ได้ ถ้าอย่างนี้จะพระสารีบุตรหรือสาวกองค์ใดๆก็ไม่มีทาง 3.จริตของภิกษุหนุ่มนั้น แม้ระดับพระสารีบุตรยังอาจให้กรรมฐานไม่ตรง เพราะท่านไม่ใช่สัพพัญญู ทั้งๆที่ท่านเองเป็นอัครสาวกเบื้องขวาผู้เป็นเลิศด้านปัญญา ลูกศิษย์เองต้องทำเอง รับผิดชอบตนเอง ครูบาอาจารย์ส่วนใหญ่ก็สอนรวมๆตามที่ท่านเข้าใจและสั่งสมมา นั่นไม่ได้แปลว่าลูกศิษย์จะทำได้อย่างที่ท่านสอน และคำว่าลูกศิษย์จริงๆแปลว่าอะไร? เราฟังคำสอนท่าน ไปปฏิบัติในสำนักท่าน ก็เลยเรียกตัวเองว่าเป็นลูกศิษย์ท่านหรือ? ความเป็นจริงนั้นคืออะไร ศิษย์เลือกอาจารย์หรืออาจารย์เลือกศิษย์ 4.จริตคือความชอบของฉันหรือ? ฉันว่าฉันชอบการปฏิบัติแบบอาจารย์องค์นี้นะ...เหรอ ถ้าวันไหนรู้สึกศรัทธาเปลี่ยนไปเพราะไม่ได้ดั่งใจเรา เราก็จะรู้สึกว่าคนนั้นคนนี้ไม่ดี ไม่จัดการตัวเองดีแต่โยนความผิดไปที่ผู้อื่น คนมี"กู" จะโยนความผิดให้คนอื่นไว้ก่อนทั้งๆที่ตนเองไม่พยายามพัฒนาจิตใจสติปัญญาลดละเลิกกามคุณอย่างจริงจังเลย นอกจากความก้าวหน้าไม่มีก็ยังสร้างอกุศลกรรมไม่หยุดหย่อน คนที่เราว่าเขาดีไม่ดีนั้น จะดีไม่ดี ดูดีๆว่าท่านนั้นที่เราว่า อาจดีกว่าเราร้อยเท่าพันเท่า ทั้งการปฏิบัติตน ความเห็นแก่ตัวก็ยังน้อยกว่าคนที่ว่าท่านตั้งมากมาย นั่นก็ยังไม่ดีเพราะ กูเห็นแต่ตัว"กู"เอง กูน่ะดีหมด หันกลับมาชำระตนเองน่าจะเป็นทางที่ดีที่สุด หากจริตตัวเองเป็นอย่างไรไม่รู้ ก็เพียรฝึกสติสัมปชัญญะในแต่ละขณะให้มาก มีศีล เพียรระวัง ทุจริต๓ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตไว้ ตอนนี้รู้ลมหายใจไว้ หลับตาลงสักพักก่อนอ่านต่อ....อารมณ์ต่างไปไหม? อ่านข้อความที่เป็นธรรมะใจเป็นกุศลหรืออกุศล นี่ล่ะที่เรียกว่าทำความเพียร มันยากตรงไหน? มาดูเนื้อเรื่องพวกที่ชอบเพ่งโทษว่าผู้อื่นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ย้อนดูตนกัน   ครั้งนั้นพระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระรูปหนึ่ง ชื่ออุชฌานสัญญี   คุณวิเศษไม่เกิดแก่ผู้เพ่งโทษผู้อื่น   ได้ยินว่า พระเถระรูปนั้นเที่ยวแส่หาความผิด ของภิกษุทั้งหลายเท่านั้นว่า "ภิกษุนี้ก็นุ่งผิดอย่างนี้ ภิกษุนีก็ห่มผิดอย่างนี้." พวกภิกษุกราบทูลแด่พระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระชื่อโน้น ชอบทำแบบนี้."   พระศาสดาตรัสว่า   "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติแล้วกล่าวสอนอยู่อย่างนี้ ใครๆ ก็ไม่ควรติเตียน, ส่วนภิกษุใดแสวงหาโทษของชนเหล่าอื่น เพราะความมุ่งหมายที่จะจับผิด พูดแบบนี้ไปอยู่, บรรดาคุณวิเศษมีฌานเป็นต้น คุณวิเศษแม้อย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น, อาสวะทั้งหลายเท่านั้น ย่อมเจริญอย่างเดียว"   ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-   อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ผู้คอยดูความผิด  ของบุคคลอื่น ผู้มีความมุ่งหมายในอันจับผิดเป็นนิตย์ บุคคลนั้น เป็นผู้ไกลจากความสิ้นไปแห่งอาสวะ.   ระวัง! ยิ่งเดินทางยื่งห่างไกลออกไปจากปลายทาง 2012-09-25