ปกหลัง หนังสือนิพพานชั่วพริบตา

4 ก.พ. 55 / 1037 อ่าน

ปกหลัง น้ำเน่าในคลองแสนแสบส่งกลิ่นเหม็นตลบ อบอวล หากเราเอาน้ำสะอาดเทลงไปหนึ่งแก้วจะสะอาดขึ้นไหม?..ไม่สะอาด นี่คือคำตอบจากคนทั่วไป จริงหรือที่ว่าไม่สะอาด มันสะอาดขึ้นหนึ่งแก้ว เพียงแต่หนึ่งแก้วมันไม่พอที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึกได้เท่า นั้นเอง แต่หากเทลงไปเป็นแก้วที่ 2..3..4.....เรื่อยไปจนถึง 10,000...100,000...1,000,000 จะมีวันหนึ่งที่เรารู้สึกว่าน้ำมันสะอาดขึ้นนะ..น้ำเพิ่งสะอาดขึ้นตอนแก้ว ที่ 1,000,000 หรือ? ท่านไปตัดผมเมื่อ 30 วันที่แล้ว วันนี้รู้สึกว่าผมยาวแล้วเดี๋ยวเลิกงานไปตัดผมเสียหน่อย ผมเพิ่งจะยาววันนี้หรือ? หรือเพิ่งสังเกตเห็นว่ามันยาว หรือว่ามันเริ่มยาวตั้งแต่วินาทีที่เราตัดอยู่เมื่อ 30 วันที่แล้ว แล้วมันก็ยาวต่อเนื่องมาไม่เคยหยุดเลย การปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน เริ่มปฏิบัติตอนไหนทุกข์ก็ลดลงดับลงตอนนั้นเลย ไม่ใช่ต้องรอให้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันนะ รู้ลมตอนนี้หนึ่งที ทุกข์หายทันทีหนึ่งขณะ รู้ต่อเนื่องทีที่สอง ทุกข์ก็หายต่อเนื่องเป็นขณะที่สอง แล้วจะกล่าวไปใยกับผู้ที่ทำไม่หยุด ทำมากเท่าที่ทำได้ จนเกิดปัญญารู้ความจริงขึ้นมาว่า คิดดับ..ทุกข์ดับ, คิด+ปรุงแต่งดับ..ทุกข์ดับ,การปรุงแต่งดับ (คือปรุงว่าสรรพสิ่งเป็นของเรา เป็นตัวเรา เป็นอัตตาของเรา) ..ทุกข์ดับ ดังนั้นสุดท้ายคิดยังไงก็ไม่ทุกข์หากไม่มีการปรุงแต่ง นร้คือสุดยอดของการเดินทาง ทุกข์ทั้งหลายเกิดจากการปรุงแต่งขึ้นมาเพราะความไม่รู้ เมื่อเกิดปัญญาสูงสุด เห็นแจ้งว่าสรรพสิ่งซึ่งไม่เคยเป็นเราเป็นของเราเลยแม้สักวินาทีเดียว เป็นเหตุให้เกิดสัมมาญาณ สัมมาวิมุตติ จึงปล่อยวางความยึดถือจิต หลุดพ้นไม่สร้างเหตุให้เกิดทุกข์อีกต่อไป ดังนั้นเมื่อมีสติรู้สึกตัวได้มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น จนไม่ทำบาป อกุศลทางกายวาจาอีกต่อไป ละอกุศลทางใจไดโ้ดยลำดับจนเบาบางไปในที่สุด ผู้มีสติสมบูรณ์คงเป็นผู้ที่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา? วันนี้เราหลงจึงทำผิด จึงทุกข์ พอรู้ตัวก็ไม่หลง แต่หากปฏิบัติไปจนไม่รู้แต่ก็ไม่หลงล่ะ ก็ไม่มีอะไรต้องเข้าไปเหนื่อยในการกระทำ หรือว่าที่นี่เป็นที่ๆสติประกอบโดยไร้เจตนาหมดผู้กระทำอีก วันนี้ผู้ปรารถนาหนทางแห่งการพ้นทุกข์ รู้ลมหายใจวินาทีนี้ ทุกข์ลดทันทีวินาทีนี้ ไม่ต้องรอเมื่อนั้น เมื่อนี้ ที่นั่น ที่นี่....นิพพานอยู่ที่ละวางต้นเหตุของทุกข์คือตัณหา หมดอยากหมดทุกข์นี้เป็นนิพพาน วางความยึดถือลงอีกชั้นหนึ่ง นี้จึงถึงที่สุดหมดเหตุ หมดผลนี้เป็น นิพพาน