คำนำ-นิพานชั่วพริบตา อัมรินทร์กำลังจะออก

4 ก.พ. 55 / 1182 อ่าน

นิพพานชั่วพริบตา-คำนำ วัน นี้นิพพพานเป็นคำที่ทุกคนมีความรู้สึกเป็นสิ่งที่ไกลเกินเอื้อมไม่ใช่เรื่อง ของคนทั่วไปจะเข้าไปสัมผัส แถมเป็นคำที่ไม่สมควรพูดถึงด้วยเพราะอาจจะเป็นบาปเป็นกรรม หรือใครพูดถึงนิพพานจะกลายเป็นนำสิ่งที่ไม่สมควรพูดออกมาพูด หากเป็นพระก็จะกลายเป็นอวดอุตริมนุษยธรรม เมื่อไม่มีการพูดก็ไม่มีประเด็นจะให้ ใครเข้ามาสนใจ การเปิดประเด็นจึงทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ก็จะเริ่มมีการค้นคว้าหาข้อมูลคัดง้าง ขัดแย้ง สนับสนุน สุดท้ายจะไปจบที่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด มิใช่ไม่มีผู้เข้าใจหรือเข้าถึง แต่การอธิบายสภาพนามธรรมล้วนๆโดยใช้รูปธรรมคือคำพูดที่เป็นสมมติ เมื่ออธิบายสู่ผู้คน ผู้ฟังจะคิดเป็นรูปธรรมทันที นี่จึงกลายเป็นข้อจำกัดปิดกั้นสภาวธรรมที่แท้จริงซึ่งไม่อยู่ภายใต้ความคิด ปรุงแต่ง เช่นนิพพานเป็นที่สงบเย็นคนฟังก็คิดไปถึงเมฆอากาศเย็นเห็นน้ำตกเป็นหมอก ไอฟุ้งละอองแสดงถึงความเย็นเป็นต้น นี่จึงเป็นปัญหาในการพูดถึงนิพพานเพราะนิพพานจะกลายเป็นสิ่งๆหนึ่งที่เป็น รูปในใจคนทุกที ดังนั้นความสำคัญของการอธิบายคำว่านิพพานนั้นอาจจะไม่สำคัญเท่าทำอย่างไรให้ไปถึงและรู้แจ้งในสภาพนั้นต่างหากตัวอย่าง เช่นหากมีใครพยายามอธิบายว่ายอดดอยอินทนนท์เป็นอย่างไร อาจไม่สำคัญเท่าการเดินทางหรือวิธีการเดินไปสู่ยอดดอย เพราะเมื่อเดินทางไปถึงแล้วไม่มีอะไรต้องอธิบายให้ผู้ไปถึงแล้วฟัง หรือผู้ไปถึงแล้วก็คือถึงแล้วก็อาจไม่มีอะไรพิศดารอัศจรรย์ หมดความทึ่งไปแล้วก็เป็นได้และที่สำคัญพอพูดคำว่าถึงก็ไปคิดถึงถนนกับปลาย ทางทันที ทั้งๆที่ไม่ได้มีต้นทางหรือปลายทางดังนั้นการใช้ภาษาโลกอธิบายภาษาธรรมจึงไม่ใช่ของง่าย แต่อย่างไรก็ตามแม้นพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าเองก็ทรงอุปมานิพพานเป็นภาษาโลกไว้เช่นกัน แต่หากไม่ใช่พระองค์ การอธิบายโดยใช้ภาษาโลกอธิบายสภาพนามธรรมจึงเกิดช่องโหว่ของภาษาได้โดยง่าย ตัวอย่างเช่น ภิกษุ ท. ! “สิ่ง” สิ่งน้ันมีอยู่, เป็นส่ิงซ่ึงในน้ันไม่มีดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีลม, ไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ ไม่ใช่วิญญาณัญจายตนะ ไม่ใช่อากิญจัญญายตนะ ไม่ใช่เนวสัญญานาสัญญายตนะ, ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น , ไม่ใช่ดวงจันทร์ หรือดวงอาทิตย์ทั้งสองอย่าง. ภิกษุ ท. ! ในกรณีอันเกี่ยวกับ “สิ่ง” สิ่งน้ันเราไม่กล่าวว่ามีการมา, ไม่กล่าวว่ามีการไป, ไม่กล่าวว่ามีการหยุด, ไม่กล่าวว่ามีการจุติ, ไม่กล่าวว่ามีการเกิดขึ้น. สิ่งน้ันมิได้ต้ังอยู่, สิ่งน้ันมิได้เป็นไป และสิ่งน้ัน มิใช่อารมณ์ ; นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ ล่ะ. - อุ. ขุ. ๒๕/๒๐๖/๑๕๘. จากพุทธพจน์บทนี้ท่านใช้ภาษาโลกมา อธิบายสภาพนามธรรมซึ่งคนก็ไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่ท่านอธิบายเอาไว้ได้ เช่นสิ่งนั้นไม่มีดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีลม นั่นท่านจะให้เห็นว่าไม่มีรูปเข้าเกี่ยวข้องเลย ดังนั้นหากเราคิดเป็นรูปธรรมเราจะพลาดตั้งแต่เริ่มต้น คำว่าดินไม่ใช่แค่พื้นดินหรือดินที่เราปลูกต้นไม้นะ เป็นของแข็งซึ่งเป็นไปได้ทั้งนั้นไม่ว่าคน สัตว์ สิ่งของ ตา หู จมูก ลิ้น กายส่วนน้ำไฟลมก็ทำนองเดียวกัน ส่วนไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ ไม่ใช่วิญญาณัญจายตนะ ไม่ใช่อากิญจัญญายตนะ ไม่ใช่เนวสัญญานาสัญญายตนะ นั่นเป็นสภาวะที่เป็นอรูปฌาณซึ่งเป็นสภาพนามธรรมที่ปราศจากรูปแล้ว นี่ก็ไม่ใช่เพราะผู้ที่ปฏิบัติไปจนเกิดสภาพว่างในอรูปฌาณจะดูเหมือนพระ นิพพานนั่นก็ยังไม่ใช่เพราะยังมีการยึดถืออยู่ “สิ่ง” สิ่งน้ันเราไม่กล่าวว่ามีการมา, ไม่กล่าวว่ามีการไป, ไม่กล่าวว่ามีการหยุด, ไม่กล่าวว่ามีการจุติ, ไม่กล่าวว่ามีการเกิดขึ้น. สิ่งน้ันมิได้ต้ังอยู่, สิ่งน้ันมิได้เป็นไป และสิ่งน้ัน มิใช่อารมณ์ ; นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ ล่ะ. ไม่ ใช่สิ่งที่มีความคิดปรุงแต่งเป็นอารมณ์ขึ้นมา สิ่งที่พระองค์ตรัสถึงเป็นสภาพที่จิตปล่อยวางความยึดถือทั้งหมด จิตจึงไม่ขยับอีก ไม่มีการเกิดไม่มีการดับ จึงไม่เกิดเป็นภพ ชาติ กาลเวลา ไม่มีเหตุเกิด ไม่ก่อให้เกิดการปรุงแต่งเป็นอารมณ์ จึงถึงที่สุดแห่งทุกข์ นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งในการอธิบายธรรม ชื่อว่า “นิพพาน” แต่พระองค์เคยตรัสไว้กับพระอานนท์ว่า นิพพานอันบุคคลสามารถเห็นได้เองนั้นเป็นอย่างไร แต่ระดับของโลกียสุขอันเกิดจากกามคุณ๕ คือการเข้าไปหลงไหลใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสนั้น ท่านไม่เป็นเป็นสุขแท้ เพราะนั่นมีแต่เผารนให้ใจเร่าร้อนเกิด ราคะ เกิดความเพลิน เกิด ตัณหาอยากได้อีกเรื่อยไปไม่สิ้นสุด เมื่อไม่ไดก็อยากได้ เมื่ออยากได้ก็เป็นทุกข์ทันที เมื่ออยากได้แล้วไม่ได้ยิ่งทุกข์หนัก เมื่ออยากได้แล้วได้ก็ยิ่งเสริมความยึดติดให้หนักขึ้น เพราะสรรพสิ่งเกิดขึ้นแล้วดับแน่ วันข้างหน้าจะทวีความอยากรุนแรงขึ้นดังนั้นทุกข์จะมากขึ้นไปอีก ความอยากหรือตัณหาก็จะเผาให้เร่าร้อน นี้เป็นสุขที่ควรกลัว แต่พระองค์บอกว่า เมื่อสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล เข้าถึงปฐมฌาณ นั่นเป็นนิพพานชั่วคราวที่ปุถุชนสัมผัสได้เอง เพราะอะไร เพราะจิตใจไม่มีตัณหาเผารน จิตจะสุขสงบอยู่ได้ชั่วคราว นี่เป็นสุขสงบที่จะพาไปสู่ปลายทางได้ อย่าไปมองเป็นการกดข่มแต่ให้มองว่าจิตได้สัมผัสกับสงบเย็นเป็นขณะๆได้ เมื่อเกิดสมาธิความตั้งมั่นก็จะเห็นต่อไปได้ว่าสุขเหล่านี้ก็ยังไม่เที่ยง แปรปรวนอยู่ จนปล่อยความยึดถือกลับพบสุขที่แท้จริงตรงที่ไม่ยึดถือสุขนั่นเอง   ธรรมที่ชี่อว่า“นิพพาน” นั่นสงบจริง! นั่นประณีตจริง ! ที่นี้เอง เป็นที่สงบสังขารทั้งปวง, เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง, เป็นที่ สิ้นตัณหา, เป็นที่คลายความกําหนัด, เป็นที่ดับกิเลส. นี่คือนิพพาน แล.
  • นวก. อํ. ๒๓/๔๓๙/๒๔๐. - เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๔๔/๒๑๔.๔๔๔
ความไม่กังวลความไม่ถือมั่นนั่นแลคือ ธรรมอันเป็นเกาะ ไม่มีธรรมอื่นอีก เรากล่าวธรรมน้ันว่า “นิพพาน” เป็นที่หมดสิ้น แห่งชราและมรณะ แล.
  • สุคฺต. ขุ, ๒๕/๕๔๔/๔๓๔.
ยกตัวอย่างเช่นหากเราเอามือจุ่มในน้ำ อุณภูมิ 30 องศา อยู่จนเคยชินเราจะรู้สึกว่าน้ำนั้นไม่ร้อนไม่เย็นถูกไหม คือรู้สึกเฉยๆกับน้ำนั้น หากเราเอามือจุ่มลงไปในน้ำอุณหภูมิ 25 องศา จะรู้สึกเย็น จะเย็นอยู่พักหนึ่ง ก็จะหาที่เย็นกว่า 20 องศา 15องศา 10 องศา....นั่นเป็นเส้นทางให้จิตเดินทางไปจนถึงความสุขสงบเย็นอันไม่มีอะไร เปลี่ยนแปลง ดังนั้นอย่าติดอยู่ในความสุขในความเย็นใดๆนั่นจึงเป็นสุขเย็นที่แท้จริง ฉะนั้นความสำคัญในการรู้จัก ธรรมอันชื่อว่านิพพานนั้นอาจไม่สำคัญเท่าเส้นทางที่จะไปให้พบพระนิพพาน เส้นทางนั้นก็คือ อริยมรรคมีองค์๘ นั่นเอง เมื่อปฏิบัติตามมรรคแล้วจะเห็น อนิจจัง ในสรรพสิ่ง จนเห็นเลยว่าสิ่งเกิดดับล้วนเป็นทุกข์โดยสภาพของมันเองเรียกว่า ทุกขัง เมื่อมีผู้รู้ไป่รับรู้สภาพนั้นแล้วไปยึดสิ่งเป็นทุกข์จึงเกิดเป็นผู้ทุกข์ ตามมา จนไปเห็นต่อมาว่า สรรพสิ่งทั้งโลกทั้งจักรวาลทั้งใหญ่ที่สุดจนถึงระดับปรมณูคือเล็กที่สุดล้วน เกิดเพราะมีเหตุ ดับไปเพราะหมดเหตุ ว่างจากตัวตน เมื่อเห็นสภาพอนัตตาจน แจ่มขัด จิตจึงสลัดคืนความเห็นผิดลง สภาพดับอันเป็นนิโรธที่เกิดขึ้นตลอดการเดินทางตามมรรค เริ่มดับเป็นจุดเป็นขณะจนดับต่อเนื่องจนรู้สึกว่าง จนรู้สึกจิตใจสงบเละเย็นในที่สุด ดังนั้นอนัตตาธรรมนี้จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถปล่อยวางและ สลัดคืนได้อย่างแท้จริง เมื่อถึงสภาพนั้นแล้ว อาจจะไม่มีใครพูดอะไรอีกเลยก็ได้ แต่อย่าเอาความรู้สึกของคนปีนยอดเขามาวัดนะ ที่เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขา เขาบอกว่า ไม่เห็นมีอะไรเลย เพราะนั่นคือว่างเปล่า แต่นี่ไม่ใช่ว่างเปล่าแต่เป็น มีในไม่มีและไม่มีในมี ที่นี่ไม่ได้ว่างเปล่า ซึ่งสภาพนี้พระองค์บัญญัติชื่อว่า “สุญญตาหรือนิพพาน” หวังว่าท่านผู้อ่านจะสามารถทำความเข้า ใจในระดับการเดินทางและลองปฏิบัติไปตามจริง ท่านจะสัมผัสได้เองว่าทุกข์จะค่อยๆลดลงจากระดับที่ยังสัมผัสถึงความสุขนั้น ได้ จนวันหนึ่งท่านจะประจักษ์ด้วยตัวเองว่า “ไม่รู้เป็นอะไร ฉันว่าฉันไม่ค่อยทุกข์เลยนะเดี๋ยวนี้ !” ออกเมื่อไหร่ยังไม่ทราบ แล้วจะแจ้งอีกที เป็นหนังสือธรรมะภาคปฏิบัติ