เครื่องปรุง

4 มี.ค. 55 / 1310 อ่าน

  วันนี้เราไปไหนก็เหมือนพกเครื่องปรุง ปรุงก๋วยเตี๋ยว ปรุงต้มยำ ปรุงราดหน้าฯลฯ ไปด้วย เครื่องปรุง> ปรุงรสอาหาร > ให้รสชาติถูกลิ้น > ลิ้นชอบ>ใจก็ชอบ   ความจริงรู้ไหมว่าใจปรุง > มือจึงปรุง > มือปรุงเพื่อให้อร่อยลิ้น > อร่อยลิ้นก็อร่อยใจ เมื่ออร่อยใจ > ใจก็ยึดติด > ยึดติดก็อยากได้อีก...ทุกข์เลยทีนี้   อร่อยลิ้นเฉยๆ ใจไม่ปรุง ต้องการกินแต่ใจไม่บีบ เพราะไม่ถูกปรุง เพียงเพราะเป็นสิ่งคุ้นลิ้น..อย่างนี้พ้นทุกข์ไปแล้ว...เข้าใจไหม?   คนทั่วไปก็เลยปรุงรส เพราะใจปรุงว่า "กูชอบ" ปรุง(ชิวหาผัสสะ) เสร็จก็พอใจ(เวทนา) พอใจก็เกิดตัณหา ตัณหาแล้วก็ยึด (อุปาทาน) สั่งสมไว้เป็นราคานุสัย (ความเคยคุ้นในรสนี้แล้วก็ติดมัน ไม่ได้อีกก็หงุดหงิด ร้านไหนทำไม่เหมือนอย่างที่ก็เคยคุ้นก็ว่าไม่อร่อย" ใจเป็นทุกข์ไม่พอใจ เกิดเป็นโทสะ)   ถ้างั้นไม่ปรุง (รส) แล้ว.... พอไม่ปรุง (รส) ใจก็เลยปรุงแทน เกิดเป็น "กู"ไม่พอใจ ก็เลยต้องทนกันบ้างเพื่อให้พ้นจากความยึดถือ นานเข้าๆความยึดเริ่มจางลงจนหมด แต่หมดจริงๆต้องหมดอวิชชา ที่จะพาหลงผิดไปปรุงอีก จากนั้นก็กลับมากินเพราะมันอิสระแล้ว   วันหนึ่งสั่งอาหารมากินแล้วก็บอกว่า "อร่อย(ลิ้น)นะ รสชาติดี (แม่ครัวทำเก่ง รสชาติกลมกล่อม) วันหน้า (ถ้ามีโอกาส) จะมากินอีก นานไปคิดว่าอยากจะกินร้านนี้อีก(แต่ไม่ทุกข์กับมัน เพราะไม่เอาทั้งสัญญาและสังขารมาเป็นเราอีก เพราะไม่มีเราที่จิต)...ไม่มีอะไรที่ปรุงแต่งเลย อย่าใช้ความคิด ให้ใช้สภาวธรรม..แยกออกไหม? หรือพระอรหันต์ต้องฉันไม่อร่อย แต่ถ้าอาหารอร่อยถูกปากท่าน ท่านก็จะฉันอาหารได้มากนะ